การสื่อสารข้อมูล

การสื่อสารข้อมูล

2. การสื่อสารข้อมูล 
     ในปัจจุบันการสื่อสารข้อมูล มับทบาทและความสำคัญที่ได้พัฒนาเผยแพร่ข้อมูลไปยังผู้ใช้โดยส่งผ่านสื่อกลางต่างๆซึ่งสื่อกลางแต่ละแบบ ก็จะมีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป

     2.1 สื่อกลางการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จะมีสื่อกลางสำหรับเชื่อมโยงสถานีหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นตัวกลางให้ผู้ส่งข้อมูลทำการส่งข้อมูลทำการส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้ สื่อกลางการสื่อสารข้อมูลแบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังต่อไปนี้
          1. สือกลางทางกายภาพ (physical media)
              สายตีเกลียวคู่ (twisted pair cable หรือTP)
                ประกอบด้วยลวดทองแดงที่หุ้มฉนวนพลาสติกจำนวน 4 คู่ แต่ละคู่จะพันเป็นเกลียว ซึ่ง 2 คู่จะใช้สำหรับช่องทางการสื่อสาร 1 ช่องทาง สายตีเกลียวคู่เป็นตัวกลางที่เป็นมาตรฐานใช้ส่งสัญญาณเสียงและข้อมูลได้ในระยะเวลายาวนาน สายสัญญาณประเภทนี้นิยมใช้เป็นสายโทรศัพท์ (telephone line) เพื่อส่งสัญญาณโทรศัพท์

              สายโคแอกเชียล (coaxial cable)
                ประกอบด้วยสายทองแดงเพียงเส้นเดียวเป็นแกนกลาง หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก สามารถส่งข้อมูลได้มากกว่าสายตีเกลียวคู่ประมาณ 80 เท่า ส่วนใหญ่จะใช้ในการส่งสัญญาณโทรทัศน์
                                                             
              - สายใยแก้วนำแสง (fiberoptic cable)
                ประกอบด้วยเส้นใยแก้วนำขนาดเล็กซึ่งหุ้มฉนวนหลายชั้น โดยการส่งข้อมูลใช้หลักการสะท้อนของแสงผ่านหลอดแก้วขนาดเล็ก ทำให้สามารถส่งผ่านข้อมูลได้เร็วถึง 26,000 เท่าของสายตีเกลียวคู่ มีน้ำหนักเบาและมีความน่าเชื่อถือในการส่งข้อมูลมากกว่าสายโคแอกเชียล อีกทั้งการส่งข้อมูลจะใช้ลำแสงที่มีความเร็วเทียบเท่ากับความเร็วของแสง ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้จำนวนมากเป็นระยะทางไกลด้วยความเร็วสูง

           2. สือกลางไร้สาย (wireless media)
                เป็นการเชื่อมต่อที่ไม่ต้องใช้สายสัญญาณเป็นกลางสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างผู้รับและผู้ส่งข้อมูล แต่จะใช้อากาศเป็นสื่อกลาง ตัวอย่างสื่อกลางไร้สาย มีดังนี้
              - อินฟราเรด (infrared)
                เป็นการสื่อสารโดยใช้คลื่นแสงที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า สามารถส่งข้อมูลในระยะไม่ไกล   การส่งข้อมูลด้วยคลื่นอินฟราเรดต้องส่งในแนวเส้นตรง และไม่สามารถทะลุสิ่งกีดขวางที่มีความหนาได้ นิยมใช้ในการส่งถ่ายโอนข้อมูลสำหรับอุปกรณ์แบบพกพา เช่น โน๊ตบุ๊คคอมพิวเตอร์หรือเครื่องพีดีเอไปยังคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นต้น
              - คลื่นวิทยุ (radio wave)
                เป็นการสื่อสารโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง อุปกรณ์พิเศษชนิดนี้เรียกว่า เครื่องรับส่ง (transceiver)ทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณวิทยุจากอุปกรณ์ไร้สายต่างๆ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีไร้สายที่ใช้คลื่นวิทยุระยะสั้น เหมาะสำหรับการติดต่อสื่อสารในระยะไม่เกิน 33 ฟุตการส่งสัญญาณสามารถส่งผ่านสิ่งกีดขวางได้ ทำให้เทคโนโลยีบลูทูธได้รับความนิยมสูง จึงมีการนำมาบรรจุไว้ในอุปกรณ์เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น โทรศัพท์เคลื่นที่ เครื่องพีดีเอ โน๊ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
              - ไมโครเวฟ (microwave)
                 เป็นการสื่อสารโดยใช้คลื่นวิทยุความเร็วสูงสามารถส่งสัญญาณเป็นทอดๆจากสถานีหนึ่งไปยังสถานีหนึ่งในแนวเส้นตรง สามารถรับส่งได้ในระยะทางใกล้ๆ สำหรับการสื่อสารระยะทางไกลๆต้องใช้สถานีติดตั้งบนพื้นที่สูงๆ โดยปกติความถี่ไมโครเวฟอยู่ในช่วงคลื่นอินฟราเรด ซึ่งนำมาใช้ประโยชน์ในด้านโทรคมนาคมและการทำอาหาร
              - ดาวเทียม (satellite)
                เป็นการสื่อสารโดยใช้คลื่นไมโคเวฟ มีการพัฒนาดาวเทียมให้เป็นสถานีไมโครเวฟที่ลอบอบู่เหนือพื้นผิวโลก ทำหน้าที่เป็นสถานีส่งและรับข้อมูล ถ้าเป็นลักษณะการส่งข้อมูลจากภาคพื้นดินไปยังดาวเทียม เรียกว่า การเชื่อมโยงขึ้นหรืออัปลิงค์ (uplink) ส่วนการรับข้อมูลจากดาวเทียมสู่ภาคพื้นดิน เรียกว่า การเชื่อมโยงลงหรือดาวน์ลิงค์ (down link) ทั้งนี้มีระบบเทคโนโลยีที่กำลังเป็นที่นิยมและอาศัยการทำงานของดาวเทียมเป็นหลัก คือ ระบบจีพีเอส (Global Positioning System : GPS) ที่ช่วยตรวจสอบตำแหน่งที่อยู่บนพื้นผิวโลก นอกจากนี้ยังได้นำอุปกรณ์จีพีเอสมาติดตั้งในระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วย